วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558

สัญญาทางแพ่ง พาณิชย์ และธุรกิจ มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย กับกฎหมายของฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน


สัญญาทางแพ่ง พาณิชย์ และธุรกิจ มีความเหมือนหรือแตกต่างกัน โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย กับกฎหมายของฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน ดังนี้

ข้อ 1. ความหมายของสัญญา

สัญญา หมายถึง การตกลงกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เป็นการแสดงเจตนาเพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ในทางกฎหมาย ตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149  “นิติกรรม หมายความว่า การใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ”  และการทำสัญญาต้องมีสิ่งตอบแทนหรือหนี้ระหว่างคู่สัญญา จึงจะถือเป็นสัญญา
สัญญาเป็นนิติกรรม แต่นิติกรรมไม่จำเป็นต้องเป็นสัญญา เช่น พินัยกรรม หรือคำมั่น เป็นต้น
ความสัมพันธ์ต่าง ๆ จะอยู่ในรูปของแบบของ นิติกรรม คือ เรื่องสัญญาและนิติเหตุ คือ เรื่องของละเมิด สุดท้ายผลของกฎหมาย คือ เรื่องของทรัพย์

สาระสำคัญของสัญญามี 2 ประการ คือ
1. ความตกลง (Agreement)
2. หนี้ (Obligation)
สาระสำคัญทั้ง 2 ประการนี้ต้องอยู่ประกอบกัน จึงจะเกิดสัญญาขึ้นเป็นสัญญาตามกฎหมาย

สัญญาทางแพ่ง ตามกฎหมายแพ่ง (Civil Law) ประกอบด้วย
1. การเกิดสิทธิ การเกิดโดยสองประเภท กล่าวคือ โดยกฎหมาย คือ ทรัพยสิทธิ และโดยนิติกรรม คือ บุคคลสิทธิ
2. การได้มาซึ่งสิทธิ การได้มาซึ่งสิทธิมีสามประเภท กล่าวคือการได้มาซึ่งสิทธิโดยนิติกรรม เช่น การหมั้น การสมรส การเช่า การเช่าซื้อ จ้างแรงงาน จ้างทำของ ซื้อขาย แลกเปลี่ย ให้ และการได้สิทธิโดยนิติเหตุ เช่น ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ สุดท้ายการได้สิทธิมาโดยผลของกฎหมาย เช่น บุตร สามี ภริยา (สถานะ) กรรมสิทธิ์ ส่วนควบ มรดก ครอบครองปรปักษ์

สัญญาทางพาณิชย์  เป็นเรื่องของกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน กล่าวถึง สถานะบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย และ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิทางแพ่ง รวมถึงเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าประชาชนด้วยกันเอง เช่น เอกเทศสัญญาต่าง ๆ (กฎหมายพาณิชย์ บรรพ 3)
กฎหมายว่าด้วยความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างบุคคล บุคคลธรรมดา นิติบุคคล อย่างเช่นกฎหมายไทยในบรรพ 3 หลักความสัมพันธ์นี้หวังผลกำไร

สัญญาทางธุรกิจ การแสวงหากำไร การพาณชย์ (Commercial) การอุตสาหกรรม (Industrial) การเกษตร ปศุสัตว์ การบริการ(Service)  เป็นการแสวงหากำไร มุ่งเน้นทำสัญญาผูกพันในด้านการค้าขาย และการให้บริการ ซึ่งเป็นไปตามปกติของการดำเนินธุรกิจนั้น ต้องมีผลกำไรเป็นตัวกำหนดชี้เป้าหมาย และวัดความก้าวหน้าให้แก่บุคคล หรือองค์กรทางธุรกิจนั้น จากความหมายของกฎหมายพาณิชย์  และกฎหมายธุรกิจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายเอกชน ทำให้เอกชนมีความสัมพันธ์ในทางกฎหมายกันได้ 3 ทาง คือ
            1.นิติกรรม (สัญญา)
            2.นิติเหตุ (ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้)
            3.โดยผลของกฎหมาย
กฎหมายแพ่งเป็นการกำหนดในเรื่องความสัมพันธ์ของเอกชน เป็นกฎหมายทั่วไปที่มิได้มุ่งแสวงหากำไร ในกฎหมายพาณิชย์ และธุรกิจ คือก็เป็นเรื่องของการแสวงหากำไร แต่กฎหมายธุรกิจจะมีวัตถุประสงค์ที่ครอบคลุมกิจการต่าง ๆ กว้างขวางกว่า กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายธุรกิจครอบคลุมถึง กฎหมายพาณิชย์ กฎหมายแรงงาน กฎหมายอาญา กฎหมายมหาชน จากความหมายอาจ แยกกลุ่มกฎหมายธุรกิจได้ดังนี้
            1. กลุ่มกฎหมายพาณิชย์
            2.กลุ่มอุตสาหกรรม
            3.กลุ่มเกษตรกรรมและปศุสัตว์
            4.กลุ่มการค้าบริการ เช่น ขนส่ง การเงินการธนาคาร ประกันภัย การศึกษา โรงแรม ฯลฯ
            5.กลุ่มหัตถกรรม
            6.อื่น ๆ

เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย กับกฎหมายของฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน

ประเทศไทย
เมื่อสัญญาคือนิติกรรม ฉะนั้นสัญญาก็คือ การใดๆอันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ ดังนี้เป็นความหมายของสัญญาแบบไทย จะเป็นสัญญาได้ข้อตกลงต้องตรงกันถ้าไม่ตรงกันไม่ใช่สัญญา ตกลงให้กระทำการหรือไม่กระทำ เช่น ตกลงจะซื้อจะขายรถยนต์ กระทำการคือ ผู้ซื้อชำระราคารถยนต์ เมื่อชำระราคารถยนต์แล้ว คู่สัญญาอีกฝ่าย จึงส่งมอบรถยนต์ และไปทำการจดทะเบียนกรรมสิทธิต่อไป ไม่กระทำการคือไม่สามารถนำรถยนต์ไปได้หากยังไม่ได้ชำระราคา
มีหลักว่า
1 คำเสนอและคำสนอง ถูกต้องตรงกัน
2. วัตถุประสงค์ไม่เป็นการต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน
3. ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้

ประเทศฝรั่งเศส สัญญานั้นเป็นเรื่องที่บุคคลสองคนตกลงกัน ก่อให้เกิดหนี้ขึ้นระหว่างกันตามกฎหมายมาตรา 1109 ของฝรั่งเศส ก็บอกไว้ว่า สัญญาหมายถึงความตกลง ซึ่งบุคคลหนึ่งหรือหลายคนผูกพันตนต่อบุคคลอื่น เพื่อจะให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการใดๆ ประมวลแพ่งของฝรั่งเศสจะไม่มีบทบัญญัติของนิติกรรมแต่จะมีเรื่องของสัญญาโดยเฉพาะ กฎหมายของฝรั่งเศส สัญญามุ่งให้เกิดความผูกพันทางกฎหมาย จะมีนิติสัมพันธ์ ระหว่างกันจะต้องมี cause หรือ causa

ประเทศอังกฤษ สัญญาหมายถึง ข้อตกลงซึ่งมีผลบังคับตามกฎหมายระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เพื่อกระทำการ หรืองดเว้นการกระทำการ อย่างหนึ่งอย่างใด โดยมีจุดมุ่งหมายก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมายหรือตกลงจะให้สิ่งหนึ่งเป็นการตอบแทนในการตกลงยินยอมทำสัญญา

ประเทศเยอรมนี นั้นถือว่าสัญญาเป็นนิติกรรมเกิดจากการแสดงเจตนาของคู่กรณีในการติดต่อสัมพันธ์กันในทางกฎหมาย ซึ่งอาจเป็นการแสดงเจตนาของบุคคลคนเดียวก็ได้เช่นการบอกเลิกสัญญาเช่า การทำพินัยกรรม ตามหลักกฎหมายเยอรมัน สัญญาเป็นนิติกรรม
Savingy นักกฎหมายเยอรมัน ให้คำนิยามของสัญญาไว้ว่า สัญญาคือความตกลง ร่วมกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปในการแสดงเจตนาเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทางกฎหมาย
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับความสมบูณณ์ของสัญญานั้น ประกอบด้วยเงื่อนไขที่สำคัญคือ นิติกรรม ซึ่งเกิดจากการแสดงเจตนาของคู่กรณ๊ในการติดต่อสัมพันธ์กันในทางกฎหมาย นิติกรรมอาจเป็นเพียงการแสดงเจตนาของบุคคลคนเดียวก็ได้ เช่นการบอกเลิกสัญญา การบอกล้างโมฆียกรรม การทำพินัยกรรม การมอบอำนาจให้ตัวแทนกรทำการ
 4.2 ส่วนประกอบที่สำคัญของนิติกรรมคือการแสดงเจตนาสัญญาถือเจตนาที่แสดงออก
4.3 ความสมบูรณ์ ตามสัญญาประกอบด้วย นิติกรรมที่สมบูรณ์ การแสดงเจตนาซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของนิติกรรม จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย มาตรา 134 G
4.4 ความสามารถของคู่สัญญา และต้องเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามมาตรา 125G

เปรียบเทียบกฎหมายแพ่งอังกฤษ (Common  Law) กับ ฝรั่งเศส เยอรมัน และไทย (Civil  Law)  ในการก่อให้เกิดสัญญามีหลักเกณฑ์ดังนี้
ระบบ  Civil  Law  ได้แก่  ฝรั่งเศส  เยอรมัน  ไทย  มีองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดสัญญาคือ
1.1       ความสามารถ
1.2       ความตกลงยินยอม
1.3       วัตถุประสงค์  หรือความมุ่งหมายที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์
ระบบ  Common  Law ได้แก่ อังกฤษ มีองค์ประกอบที่ทำให้เกิดสัญญาคือ
1.4       ความสามารถ
1.5       ความตกลงยินยอม
1.6       วัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายที่ก่อให้เกิดนิติสัมพันธ์
1.7       สิ่งมอบแทน  หรือสินจ้าง  มาจากยุคโรมันจะไม่มีการให้โดยเสน่หา

ข้อ 2. แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสัญญา
แนวคิดทฤษฎีในการทำสัญญา กล่าวคือ ปรัชญญากฎหมายเอกชน คือ เมื่อไม่มีกฎหมายห้ามย่อมทำได้ สำหรับอีกปรัชญญาหนึ่งนั้นเป็นปรัชญากฎหมายแพ่งสากล ไม่ขัดต่อกฎหมายความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมอันดีของประชาชน หลักนี้ปรากฏอยู่ในคำประกาศสิทธิมนุษยชน และพลเมืองฝรั่งเศล มาตรา 5  “กฎหมายมีสิทธิห้ามการกระทำก็แต่เฉพาะที่เป็นการกระทำให้สังคมเดือดร้อน สิ่งที่กฎหมายไม่ได้ห้ามไว้ย่อมทำได้และบุคคลไม่อาจถูกบังคับให้กระทำในสิ่งที่กฎหมายไม่ได้สั่งให้ กระทำดังนั้นหลักกฎหมายเอกชน ปัจเจกชนก่อนิติสัมพันธ์กันอย่างไรก็ได้ เว้นแต่จะขัดกับกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่ได้

ทฤษฏีเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา คือ ถือเอาเจตนาภายในที่เกิดและผลของสัญญาขึ้นอยู่กับเจตนาที่คู่สัญญามีอยู่โดยแท้จริงภายใน

ทฤษฏีเกี่ยวกับเสรีภาพในการทำสัญญา คือบุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยปราศจากการถูกข่มขู่ บังคับ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในระบบกฎหมายฝรั่งเศส  เยอรมัน  และระบบ  Common  Law  มีทฤษฎีที่เกิดสัญญาทั่ว ๆ ไป  4  ทฤษฎีคือ
1.  ทฤษฎีเผยเจตนา  ถือว่าสัญญาเกิดเมื่อยอมรับคำเสนอทันที  เมื่อมีการแสดงเจตนาออกมา
2. ทฤษฎีส่งเจตนา  ถือว่าสัญญาเกิดเมื่อผู้สนองส่งคำสนองให้แก่ผู้เสนอ  เช่น  อังกฤษ  อเมริกา
3.ทฤษฎีรับเจตนา ถือว่าสัญญาเกิดเมื่อคำบอกกล่าวของผู้รับสนองได้รับถึงผู้เสนอ เช่น ไทย  เยอรมัน       
4.ทฤษฎีทราบเจตนา  ถือว่าสัญญาเกิดเมื่อผู้เสนอได้ทราบคำสนองแล้ว

ระบบ  Common  Law
-                   ศาลอังกฤษยึดถือทฤษฎีที่  2  ส่งเจตนา  คือ สัญญาเกิดขึ้นเมื่อผู้สนองส่งเจตนาสนองรับลงในตู้ไปรษณีย์

ระบบ  Civil  Law
-  สำหรับ  ฝรั่งเศสนำเอาทฤษฎีที่  3  รับเจตนา และทฤษฎีที่  4  ทราบเจตนา  มาผสมกัน  ศาลฝรั่งเศสถือหลักว่า  สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้น  ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แวดล้อมเป็นกรณีไป  โดยคำนึงถึงเจตนาของคู่กรณีเป็นหลัก
-   สำหรับเยอรมัน  นั้น  คำเสนอ  คำสนอง  และการแสดงเจตนาในกรณีอื่น ๆ มีผลเมื่อไปถึงจุดหมายปลายทางแล้ว  ม.  130

ข้อ 3. ความสมบูรณ์ของสัญญา ได้แก่
ตามหลักเกณฑ์ทั่วไปของความสมบูรณ์ของสัญญา ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ เจตนา และ แบบของสัญญา สำหรับเรื่องของความสามรถนั้น เรื่องของคนหย่อนความสามารถ หมายถึง ผู้เยาว์ คนเสมือนไร้ความสามารถ คนไร้ความสามารถเช่น คนปัญญาอ่อน คนวิกลจริต
หลักเกณฑ์ที่สำคัญของสัญญา ตามกฎหมายไทย ฝรั่งเศล อังกฤษ ประกอบด้วย ความตกลงยินยอมของคู่สัญญา ความสามารถในการทำสัญญา วัตถุประสงค์ที่แน่นอนอันเป็นสาระสำคัญของสัญญา และการแสดงเจตนาเข้าผูกพันทำสัญญาที่ถูกต้อง ผลบังคับตามสัญญา การใช้ การตีความ การอุดช่องว่าง สำหรับการใช้กฎหมายของระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ในการใช้การตีความกฎหมายแม้จะเป็นระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร (Civil Law) ก็มิใช่ว่าจะยึดติดแต่ตัวอักษรแต่ดูไม่ถึงเจตนาของกฎหมาย ทำให้ผลในบางครั้งไม่เป็นการแก้ปัญหาสังคม
ความเหมือนสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ คือก็เป็นเรื่องของการแสวงหากำไรเช่นเดียวกัน สำหรับความแตกต่างกันสัญญาทางแพ่ง ทางพาณิชย์ ทางธุระกิจ การจะดูว่าเป็นแพ่งหรือพาณิชย์ สังเกต จากกำหนดความแตกต่างโดยรูปแบบของสัญญา เช่น สัญญาคู่,รูปแบบของกิจการ (ควบคุมโดยการจดทะเบียน) และดูวัตถุประสงค์ของคูสัญญาในการทำสัญญา (ดูจากพฤติกรรมของผู้ทำสัญญาเป็นสำคัญ) อย่างไรก็ตามของไทยเรายังไม่มีกรอบจากบทบัญญัติของกฎหมายที่ชัดเจน คงดูเป็นเรื่องๆ

เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย กับกฎหมายของฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน

ประเทศไทย
1.ความสามารถของผู้ทำสัญญา
โดยหลักทั่วไป บุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา แต่มีข้อยกเว้นคือ บุคคลบางประเภทกฎหมายถือว่าหย่อนความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญา เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย สำหรับผู้เยาว์จะทำนิติกรรมได้ ต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม (ป.พ.พ.ม.๒๑) เว้นแต่นิติกรรมที่ได้มาซึ่งสิทธิโดยสิ้นเชิงหรือเพื่อให้หลุดพ้นหน้าที่ หรือการที่ต้องทำเองเฉพาะตัวหรือกิจกรรมที่สมแก่ฐานานุรูป และจำเป็นในการเลี้ยงชีพเหล่านี้ผู้เยาว์ทำด้วยตนเองได้ (ป.พ.พ.ม.๒๒,๒๓,๒๔) ส่วนคนไร้ความสามารถต้องอยู่ในความอนุบาลกิจการใดๆ ของคนไร้ความสามารถผู้อนุบาล ซึ่งแต่งตั้งโดยศาลต้องเป็นผู้ทำเองทั้งสิ้น (ป.พ.พ.ม. ๒๘ วรรคสอง) สำหรับคนเสมือนไร้ความสามารถทำกิจการเองได้ทุกอย่าง เว้นแต่กิจกรรมบางอย่างตาม ป.พ.พ.ม. ๓๔ จะทำได้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์เช่น สัญญา ซื้อขายที่ดิน เป็นต้น

2. การแสดงเจตนา ความตกลงยินยอม ต้องไม่บกพร่อง 
3. วัตถุประสงค์ของการทำสัญญา ต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150    “การใด มีวัตถุประสงค์ เป็นการ ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการ พ้นวิสัย หรือ เป็นการ ขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือ ศีลธรรมอันดี ของประชาชน การนั้น เป็นโมฆะ”  คือต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศิลธรรมอันดี หากเข้าข้อยกเว้นใด ตามมาตรา 150 สัญญานั้น ถือว่าไม่ชอบ
4. แบบในการทำสัญญา ต้องเป็นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะเช่นกฎหมายกำหนดว่าต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ หรือให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งลงนามเป็นสำคัญ
ตามหลักเกณฑ์ของความสมบูรณ์ของสัญญาไทย ประกอบด้วย ความสามารถ วัตถุประสงค์ การแสดงเจตนา(ความยินยอม) และแบบ

ประเทศฝรั่งเศส  ความสมบูรณ์ของสัญญาประกอบด้วย ความตกลงยินยอม โดยที่สัญญานั้นต้องกระทำโดยฝ่ายที่มีความสามารถ โดยเน้นเรื่องวัตถุประสงค์ในการทำสัญญา และการแสดงเจตนาเป็นหลักใหญ่ จึงยึดถือเจตนาที่แท้จริงที่ มิได้ยึดถือเจตนาที่แสดงออก ซึ่งต่างจากกฎหมายเยอรมันที่ยึดเจตนาที่แสดงออก จึงมีบทบัญญัติเกี่ยวกับเจตนา

ประเทศอังกฤษ สัญญาจะสมบูรณ์ใช้บังคับได้ต้องประกอบในเรื่องความสามารถในการทำสัญญาของคู่กรณีต้องมีคำเสนอสนองถูกต้องตรงกัน คู่กรณีจะต้องมีเจตนาที่จะก่อให้เกิดความสมบูรณ์โดยมีสิ่งตอบแทนในการทำสัญญา มีความสมัครใจในการทำสัญญา ในบางกรณีต้องทำตามแบบ มีวัตถุประสงค์ไม่ขัดต่อกฎหมาย หากขาดข้อหนึ่งข้อใดดังกล่าวทำให้สัญญาตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะได้ ประเทศอังกฤษสัญญาจะสมบูรณ์ต้องมีสิ่งตอบแทน

ประเทศเยอรมัน ความสมบูรณ์ของสัญญาในประเทศเยอรมันต้องประกอบด้วย
ความสมบูรณ์ ตามสัญญาประกอบด้วย นิติกรรมที่สมบูรณ์ การแสดงเจตนาซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของนิติกรรม จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย มาตรา 134 G
ความสามารถของคู่สัญญา และต้องเป็นไปตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามมาตรา 125G

ข้อ 4. ผลของสัญญา
      เมื่อสัญญาสมบูรณ์ เป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญาตั้งแต่ต้น สัญญาก็จะผูกพันบังคับกันได้ตามกฎหมายตามหลัก สัญญาต้องเป็นสัญญาเป็นไปตามข้อตกลง หากไม่สมบูรณ์ก็อาจตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ แล้วแต่กรณี ซึ่งอาจพิจารณาจากหลักการทำสัญญาดังนี้
หลัก สัญญาต้องเป็นไปตามสัญญา
ข้อยกเว้น 
1. นิติกรรมสัญญาเกิดโดยสมบูรณ์แต่อาจจะไม่เป็นไปตามสัญญาได้ถ้าคู่สัญญายินดีจะให้ยุติลงหรือให้ระงับลงไม่ให้เป็นไปตามสัญญา
2. โดยผลของกฎหมาย  พ้นวิสัย ขัดต่อกฎหมาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือ  ศีล ธรรมอันดี เช่น ทำผิดแบบที่กฎหมายกำหนด สัญญาซื้อขายของผิดกฎหมาย  สัญญาซื้อขายของที่พ้นวิสัย
3. ไม่สุจริต กลฉ้อฉล เจตนาลวง สมรู้ร่วมคิดกับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
 4. โดยบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น กฎหมายไทย  มี พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ในมาตรา 4 ข้อตกลงในสัญญาระหว่างผู้บริโภคกับผู้ ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือในสัญญาสำเร็จรูป หรือในสัญญาขายฝากที่ทำให้ผู้ประกอบธุรกิจการค้าหรือวิชาชีพ หรือผู้กำหนดสัญญาสำเร็จรูป หรือผู้ซื้อฝากได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเกินสมควรเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ให้มีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
            การพิจารณาว่าสัญญาที่สมบูรณ์และเป็นธรรมหรือไม่นั้น เป็นอำนาจศาลหรือบางประเทศอาจมีองค์กรพิเศษมีอำนาจพิจารณา

เปรียบเทียบระหว่างกฎหมายไทย กับกฎหมายของฝรั่งเศส อังกฤษ และเยอรมัน

 ประเทศไทย ศาลมีอำนาจในการพิจารณากรณีความไม่เป็นธรรมเช่นกรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาอันไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นกรณีอันเกิดแต่สัญญา หากศาลพิจารณาเห็นว่าไม่เป็นธรรมแต่ไม่ถึงกับเป็นโมฆะ ศาลอาจปรับให้เป็นธรรมให้มีผลบังคับเท่าที่เป็นไปได้พอสมควรแก่กรณี ในส่วนสัญญาอันอื่นที่เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นก็ให้เป็นไปตามหลักของการแสดงเจตนาของคู่สัญญา และหลักเสรีภาพในการทำสัญญาสำคัญ กล่าวคือ เมื่อคู่กรณีได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมสัญญากับโดยชอบด้วยกฎหมายและโดยใจสมัครแล้ว คู่กรณีจะต้องปฏิบัติตามสัญญา
 
ประเทศเยอรมัน  เมื่อส่งคำเสนอไปยังบุคคลอื่น ๆ จะต้องผูกพันตามเสนอนั้นยกเว้นแต่ตนไม่ประสงค์ผูกพันด้วยโดยปกติคำเสนอจะสิ้นสุดการผูกพันเมื่อผู้สนองปฏิเสธหรือมิได้รับสนองรับภายในกำหนด หลักของเยอรมันกับไทยคล้ายกัน เยอรมนี องค์กรที่มีหน้าที่ชี้ขาดว่าสัญญาใดเป็นสัญญาไม่เป็นธรรมคือศาล ศาลเป็นผู้พิจารณาทั้งโมฆะ โมฆียะ

ประเทศฝรั่งเศส  มีหลักทั่วไปว่า  หนี้เกิดจากความตกลงเท่านั้นหากการตกลงของผู้เสนอจะผูกพันภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้  ศาลฝรั่งเศสวินิจฉัยว่า จะถอนคำเสนอภายในระยะเวลาดังกล่าวไม่ได้ศาลไม่มีหน้าที่เป็นผู้ชี้ขาดว่าสัญญาใดมีความเป็นธรรมหรือเอารัดเอาเปรียบ แต่จะมี คณะกรรมการควบคุมสัญญาเป็นผู้ชี้ว่าสัญญาใดเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม

ประเทศอังกฤษ ระบบ  Common  Law  มีหลักทั่วไปว่า  ผู้เสนอสามารถที่จะถอนคำเสนอก่อนที่มีการสนองตอบรับได้เสมอ ยกเว้น แต่ให้คำมั่นว่าจะไม่ถอนเสนอหรือให้สิ่งตอบแทนเพื่อที่จะไม่ถอนคำเสนอนั้นมีกฎหมายที่เรียกว่า The Unfair  Contract  Term  Act  1977 มีสาระสำคัญของกฎหมาย คือ
1.            ควบคุมการจำกัดความรับผิดของคู่สัญญา  โดยกำหนดถึงการจำกัดความรับผิดที่ไม่มีผลบังคับหรือาจมีผลบังคับถ้ามีเหตุผลเพียงพอ
2.      คุ้มครองคู่สัญญาที่มีฐานะและอำนาจต่อรองน้อยกว่าโดยกำหนดว่าในกรณีการทำสัญญาระหว่างคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งซึ่งทำสัญญาในทางธุรกิจของตน  โดยใช้สัญญารูปแบบที่ตนกำหนดขึ้น (standard  form  contract)  กับคู่สัญญาอีกฝ่ายที่เป็นลูกค้าของตน จะบังคับตามข้อสัญญานั้นจะต้องพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอหรือไม่


นายเจษฏาภรณ์ ศรีบู่
นักศึกษา นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
รหัส 5724010218
https://www.facebook.com/changpattaya
http://www.visa2britain.com
Line ID: 0817549342





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น